วันศุกร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2560

นิทานเวตาลเรื่องที่10

นิทานเวตาล 
เป็นฉบับพระนิพนธ์พระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณมีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยเรื่องเดิมมีชื่อว่า  เวตาลปัญจวิงศติ  (Vetala Panchvim shati  แปลว่า  นิทาน ๒๕ เรื่องของเวตาล  (ปัญจะ = ๕,  วิงศติ = ๒๐)  ศิวทาสได้แต่งไว้แต่โบราณ  และโสมเทวะได้นำมาเรียบเรียงขึ้นใหม่และรวมไว้ในหนังสือชื่อ  กถาสริตสาคร (Katha - sarita - sagara)  ในราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒
                              ต่อมาในระหว่าง ค.ศ. ๑๗๑๙ - ๑๗๔๗  พระราชาแห่งกรุงชัยปุระโปรด ฯ ให้แปลนิทานเวตาลจากฉบับภาษาสันสกฤตเป็นภาษาอื่น ๆ อีก  และต่อมามีผู้นำมาแปลเป็นภาษาฮินดี  เรียกชื่อเรื่องว่า  ไพตาลปัจจีสี  (Baital Pachisi)  รวมทั้งยังมีการนำมาแปลเป็นภาษาอื่น ๆ อีกแทบทุกภาษา
ผู้แต่ง
พระราชวงศ์เธอ  กรมหมื่นพิทยาลงกรณ  (น.ม.ส.)
ลักษณะคำประพันธ์
นิทานร้อยแก้ว  มีบทร้อยกรองแทรกบางตอน
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
ให้ความบันเทิง  และแทรกคติธรรม
ความเป็นมา
กรมหมื่นพิทยาลงกรณได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน  จำนวน ๙ เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี.เอช.ทอว์นีย์ อีก ๑ เรื่อง  รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ ๑๐ เรื่อง  นิทานเวตาลมีที่มาจากวรรณกรรมของอินเดียทั้งที่เป็นภาษาบาลีและสันสกฤต  มักปรากฏรูปแบบนิทานซ้อนนิทานอยู่เป็นจำนวนมาก นิทานเรื่องใหญ่ของนิทานเวตาลเหล่านั้นเป็นนิทานซึ่งแยกออกเป็น ๑๐ เรื่อง  มีต้นเรื่องและปลายเรื่องกำกับชี้แจงเหตุเกิดของเรื่อง  พฤติกรรมของเวตาลและข้อสรุปซึ่งเต็มไปด้วยสาระ  ความรู้  ความสนุกสนาน และยังมีบทร้อยกรองที่แฝงคติธรรมแทรกอยู่โดยตลอด
                                "ครั้งนี้ข้าพเจ้าให้เกิดกระเหม่นตาซ้าย หัวใจเต้นแรงแลตาก็มืดมัวเป็นลางไม่ดีเสียแล้ว แต่ข้าพเจ้าก็จะเล่าเรื่องจริงถวายอีกเรื่องหนึ่ง  แลเพราะเหตุข้าพเจ้าเบื่อหน่ายการถูกแบกสะพายไปมาเป็นหลายเที่ยวแล้ว  แม้พระองค์ไม่ทรงเบื่อเป็นผู้แบกก็จริง  ข้าพเจ้าจะตั้งปัญหาที่อยากทูลตามสักที  ถ้าทรงตอบได้  พระปัญญาก็มากยิ่งกว่าที่ข้าพเจ้าคิดว่าจะมีในพระราชาพระองค์ใด"
เรื่องย่อก่อนถึงนิทานเวตาลเรื่องที่ ๑๐
เมื่อ ๒๐๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา  ณ เมืองอุชเชนี (อุชชยินี)  มีพระราชาทรงพระปรีชาสามารถเป็นที่เลื่องลือ  ทรงพระนามว่า  พระวิกรมาทิตย์  ครั้งนั้นมีโยคีตนหนึ่งชื่อศานติศีลผูกอาฆาตพระราชบิดาของพระวิกรมาทิตย์และประสงค์ที่จะเอาชีวิตพระองค์แทน  ซึ่งพระวิกรมาทิตย์ทรงพระราชสมภพในวัน เดือน ปี และฤกษ์เดียวกันกับตนเพื่อเป็นการบูชานางทุรคา  โดยทำอุบายปลอมตนเป็นพ่อค้านำทับทิมล้ำค่าซ่อนไว้ในผลไม้มาถวายพระวิกรมาทิตย์ทุกวัน  พระวิกรมาทิตย์จึงพระราชทานพระอนุญาตให้พ่อค้าทูลขอสิ่งที่ปรารถนาเพื่อเป็นการตอบแทน  ศานติศีลจึงเผยตัวว่าตนเองเป็นโยคีและทูลขอให้พระวิกรมาทิตย์ไปจับเวตาลในป่าช้า  เพื่อนำมาประกอบพิธีอย่างหนึ่ง  และตามสัญญาพระวิกรมาทิตย์จะต้องเสด็จไปกับพระราชโอรสเท่านั้น
           เวตาลนั้นสิงอยู่ในซากศพซึ่งแขวนอยู่ที่ต้นอโศก  พระวิกรมาทิตย์ต้องทรงปีนขึ้นไปจับตัวเวตาลให้ได้  แต่เวตาลขอสัญญากัพระวิกรมาทิตย์ว่าจะเล่านิทานเป็นปริศนา  หากพระองค์ตรัสตอบเมื่อใด  เวตาลจะกลับไปยังต้นอโศกทันที  เมื่อพระวิกรมาทิตย์ทรงสัญญา  เวตาลก็เริ่มเล่านิทานโดยอ้างว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง  เมื่อเล่าจบเรื่องก็ถามปัญหา  พระวิกรมาทิตย์เพลิดเพลินกับนิทานจนเผลอตอบปัญหา  เวตาลจึงลอยกลับไปยังต้นอโศก  พระวิกรมาทิตย์ต้องทรงกลับไปจับตัวเวตาลมาอีก  เป็นอย่างนี้จนกระทั่งถึงนิทานเรื่องสุดท้ายจึงทรงจับเวตาลและประหารชีวิตโยคี
                เรื่องย่อนิทานเวตาลเรื่องที่ ๑๐
กล่าวถึงเมืองใหญ่เมืองหนึ่งชื่อกรุงธรรมปุระ  พระราชาทรงนามท้าวมหาพล มีมเหสีซึ่งยังเป็นสาวงดงามและมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง  ต่อมาพระราชาทรงทราบว่าทหารไพร่พลของตนเอาใจออกห่างไปเข้ากับข้าศึก  รี้พลของตนย่อยยับไป  จึงพาพระมเหสีและพระราชธิดาเสด็จหนีออกจากเมืองมุ่งไปเมืองเดิมของพระมเหสี  ระหว่างทางท้าวมหาพลถูกโจรฆ่าตาย พระมเหสีและพระราชธิดาพากันหนีไป  จนกระทั่งท้าวจันทรเสนและพระราชบุตรที่เสด็จออกมาล่าสัตว์ในป่า  ทอดพระเนตรเห็นรอยเท้าของนางทั้งสองก็เสด็จตามไป  และทรงตกลงกันว่าพระราชบุตรจะรับนางที่รอยเท้าเล็กเป็นมเหสีส่วนนางที่เท้าใหญ่ให้เป็นชายาของท้าวจันทรเสน  เมื่อติดตามไปพบท้าวจันทรเสนทรงวิวาหะกับนางที่มีรอยเท้าใหญ่  ซึ่งก็คือพระราชธิดา  พระราชบุตรทรงวิวาหะกับนางที่มีรอยเท้าเล็ก  ซึ่งก็คือพระมเหสีของท้าวมหาพล
        เวตาลทูลถามพระวิกรมาทิตย์ว่า ลูกของท้าวจันทรเสนกับลูกของพระราชาบุตรที่เกิดมาจะเป็นญาติกันอย่างไร  แต่ครั้งนี้พระวิกรมาทิตย์ไม่ยอมตรัสตอบพระธรรมธวัชราชบุตรก็ทรงนิ่งเฉย  จึงเป็นอันว่าพระวิกรมาทิตย์สามารถนำตัวเวตาลไปได้

โครงเรื่องนิทานเวตาล
                              
พระวิกรมาทิตย์ผู้ซึ่งเป็นกษัตริย์มีปัญญาและอานุภาพเมื่อ๒,๐๐๐กว่าปีมาแล้วรับปากกับโยคีศานติศีลว่าจะนำตัวเวตาลที่ต้นอโศกจากป่าช้าแห่งหนึ่งมาให้พระวิกรมาทิตย์กับพระโอรสธรรมธวัชได้เดินทางไปนำตัวเวตาลมา  
                                           เวตาลเป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่ง  ในเรื่องกล่าวว่าเป็นศพ แต่เป็นศพที่พูดได้  การที่จะเอาตัวเวตาลมาได้นั้น จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอันหนึ่งคือ  ต้องไม่ตรัสอะไรเลย
มิฉะนั้นเวตาลก็จะลอยจากไปกลับไปแขวนอยู่ที่ต้นอโศกตามเดิม  เวตาลยั่วเย้าด้วยการเล่านิทานที่มีปริศนาให้คิด  แล้วตั้งคำถามจนพระวิกรมาทิตย์ต้องตอบปัญหานั้น จนถึงนิทานเรื่องที่ ๒๕ พระองค์ได้สติ จึงไม่ตรัสตอบ จึงสามารถชนะ
เวตาลได้

 ลักษณะของเวตาล
                          
                                                        “ศพนั้นลืมตาโพลง  ลูกตาสีเขียวเรือง ๆ ผมสีน้ำตาล หน้าที่น้ำตาล ตัวผอม     เห็นซี่โครงเป็นซี่ๆ ห้อยเอาหัวลงมาทำนองค้างคาว  แต่เป็นค้างคาวตัวใหญ่ที่สุด     เมือจับถูกตัวก็เย็นชืดเหนียวๆ เหมือนงู  ปรากฏเหมือนหนึ่งว่าไม่มีชีวิต  แต่หางซึ่งเหมือน     หางแพะนั้นกระดิกได้”                ลักษณะสำคัญของเวตาลคือ  เป็นผู้ที่ช่างพูดและมีความสามารถสูงยิ่ง      ในการใช้โวหารเพื่อเสียดสี  เยาะหยัน  และยั่วยุอารมณ์ผู้ฟัง        นิทานของเวตาลเป็นการเล่าเพื่อทดสอบปัญญาและความอดทนอดกลั้นของ       พระวิกรมาทิตย์

  สาระสำคัญของนิทานเวตาลเรื่องที่ ๑๐               

กรุงธรรมปุระ  มีพระชาทรงนามท้าวมหาพล  มีพระมเหสีซึ่งเป็นสาวไม่รู้จักแก่    และมีพระราชธิดาที่เปรียบได้ดุจพี่กับน้อง  มากกว่าแม่กับลูกต่อมาเกิดศึกขึ้นที่กรุงธรรม     ปุระ  ท้าวมหาพลพ่ายแพ้  พาพระมเหสีและพระราชธิดาหนีออกจากเมืองเพื่อไปยัง         เมืองเดิมของพระมเหสี     ถูกพวกภิลล์ซึ่งเป็นโจรปล้น  พระราชาต่อสู่จนสิ้นพระชนม์       พระมเหสีและพระราชธิดาพากันหนีออกจากหมู่บ้านโจรจนหมดกำลัง              ท้าวจันทรเสนและพระราชบุตรเสด็จออกล่าสัตว์มาพบรอยเท้าพระมเหสีและ    พระราชธิดา จึงอนุมานว่านางที่มีรอยเท้าเล็กคงเป็นสาวน้อย  รอยเท้าใหญ่คงเป็น    สาวใหญ่     จึงตกลงทำสัญญาแบ่งนาง    และได้ทำการวิวาหะกลับคู่กันไป  ต่อมา    บุตรและธิดาก็เกิดจากนางทั้งสอง   และบุตรและธิดาแห่งนางทั้งสองก็มีบุตรและธิดา    ต่อ ๆ กันไป         เวตาลตั้งคำถามแก่ท้าววิกรมาทิตย์ว่า  ลูกท้าวจันทรเสนที่เกิดจากธิดาท้าวมหาพล  และลูกมเหสีท้าวมหาพลที่เกิดกับพระราชบุตรท้าวอินทรเสนนั้น  จะนับญาติกัอย่างไร      ท้าววิกรมาทิตย์ไม่ทรงตอบปัญหา   เพราะจนด้วยพระปัญญา  จึงทรงรีบพาเวตาลไปส่งให้แก่โยคี

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง               

 หากมนุษย์รู้จักใช้ปัญญาคิดไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วยและรอบด้าน แม้ปัญหาจะยากเย็น        ซับซ้อน เพียงใดก็สามารถแก้ไขหรือทำความเข้าใจได้เสมอ          แต่การใช้ปัญญาเพียงอย่างเดียวมิอาจ  แก้ปัญหาทุกสิ่งได้เสมอไป  มนุษย์ต้องมีสติ        กำกับปัญญาของตนด้วยการใช้สติปัญญาควบคู่กันไป คือหลักสำคัญในการนำมนุษย์
        ไปสู่ความสำเร็จ  อีกทั้งคำพูดของมนุษย์มีความสำคัญยิ่ง
        เพราะคำพูดเป็นสิ่งที่ต้องรักษาดังนั้นหากพูดออกมาโดยมิได้ใช้สติปัญญาไตรีตรอง
        ให้รอบด้าน    เสียก่อนก็จะนำหายนะหรือปัญหาซึ่งยากจะแก้ไขมาสู่ตนได้
        และความกล้าหาญมุ่งมั่นและ  ความเพียรเป็นคุณลักษณะที่น่าชื่นชม
        ไปสู่ความสำเร็จ  อีกทั้งคำพูดของมนุษย์มีความสำคัญยิ่ง        เพราะคำพูดเป็นสิ่งที่ต้องรักษาดังนั้นหากพูดออกมาโดยมิได้ใช้สติปัญญาไตรีตรอง        ให้รอบด้าน    เสียก่อนก็จะนำหายนะหรือปัญหาซึ่งยากจะแก้ไขมาสู่ตนได้         และความกล้าหาญมุ่งมั่นและ  ความเพียรเป็นคุณลักษณะที่น่าชื่นชม        ไปสู่ความสำเร็จ  อีกทั้งคำพูดของมนุษย์มีความสำคัญยิ่ง        เพราะคำพูดเป็นสิ่งที่ต้องรักษาดังนั้นหากพูดออกมาโดยมิได้ใช้สติปัญญาไตรีตรอง        ให้รอบด้าน    เสียก่อนก็จะนำหายนะหรือปัญหาซึ่งยากจะแก้ไขมาสู่ตนได้         และความกล้าหาญมุ่งมั่นและ  ความเพียรเป็นคุณลักษณะที่น่าชื่นชม        ไปสู่ความสำเร็จ  อีกทั้งคำพูดของมนุษย์มีความสำคัญยิ่ง        เพราะคำพูดเป็นสิ่งที่ต้องรักษาดังนั้นหากพูดออกมาโดยมิได้ใช้สติปัญญาไตรีตรอง        ให้รอบด้าน    เสียก่อนก็จะนำหายนะหรือปัญหาซึ่งยากจะแก้ไขมาสู่ตนได้         และความกล้าหาญมุ่งมั่นและ  ความเพียรเป็นคุณลักษณะที่น่าชื่นชม ถ้อยคำสำนวนที่เป็นคำคม    

ปราชญ์ผู้มีความรู้ย่อมใช้เวลาของตนในเรื่องหนังสือ  มิใช่ใช้เวลาในการนอนและ                การขี้เกียจอย่างคนโง่ ลิ้นคนนั้นตัดคอคนเสียมากต่อมากแล้ว ความสุขแห่งพ่อบ้านซึ่งอยู่โดดเดี่ยวนั้นมีไม่ได้ในบ้าน แลมีไม่ได้นอกบ้าน                เพราะไม่มีหวังจะได้ความสุขเมื่อกลับสู่เรือนแห่งตน ข้าศึกมีกำลังมากแลชำนาญการศึก  ใช้ทั้งทองคำแลเหล็กเป็นอาวุธ คือใช้ทองคำ                ซื้อน้ำใจนายทหารและไพร่พลของพระราชาให้เอาใจออกห่างจากพระองค์                 แลใช้เหล็กเป็นอาวุธฆ่าฟันคนที่ซื้อน้ำใจไม่ได้  ข้าศึกใช้ทองคำบ้างเหล็กบ้าง                เป็นอาวุธดังนี้ จนในที่สุดรี้พลของท้าวมหาพลหรอร่อยย่อยยับไป  คำศัพท์สำคัญ  

โกรศ          เป็นมาตราวัด ความยาวเท่ากับ  ๕๐๐ คนธนู     เขื่อง          ใหญ่     คุมกัน         รวมกลุ่มกัน     ซื้อน้ำใจ      ผูกใจ “ใช้ทองคำซื้อน้ำใจทหาร” หมายถึงติดสินบนด้วยทองคำเพื่อให้                                 ทหารมาเข้ากับฝ่ายตน

     ภิลล์           ชื่อชาวป่า อาศัยอยู่ตามแถบเขาวินธัยในอินเดีย                      มูลเทวะบัณฑิต “มูลเทวะ” เป็นชื่อตัวละครในนิทานสันสกฤตหลายเรื่อง    สิ้นบุญ          ตาย    หฤทัย          ใจ    อัษฎางคประณต        (อัษฎ+องค+ประณต) การกราบโดยใช้อวัยวะทั้ง ๘ คือ                                           เข่าทั้ง๒  มือทั้ง๒ หน้าผาก๑  ปลายเท้าทั้ง๒  และอก๑                                  จรดลงกับพื้น  ถ้าเป็นการกราบโดยให้อวัยวะทั้ง ๕  คือ                  เข่าทั้ง๒  มือทั้ง๒  และหน้าผาก๑  จรดลงกับพื้น                  เรียกว่า “เบญจางคประดิษฐ์”